วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5





บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.


กิจกรรมวันนี้

เพื่อนๆได้นำเสนอ"บทความ"วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (จำนวน2คน) มีหัวข้อดังนี้ค่ะ

1. สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ
2. วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

**อาจารย์ให้ไปดู VDO  เรื่อง "ความลับของแสง" แล้วให้สรุปลงBlogger
**อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องบล็อกว่าให้ใส่ภาษาอังกฤษในส่วนที่พอจะใส่ได้ เพื่อให้เราเกิดความคุ้นเคยกับภาษา


กลุ่มของเราทำ Mind Map เรื่อง ข้าว (Rice)


                             




สรุป Mind Map  เรื่อง ความลับของแสง





สรุป ความลับของแสง
          แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนคลื่นน้ำทะเลแต่เป็นคลื่นที่มีความยาว แต่จะมีความยาวคลื่นสั้นมาก นอกจากนั้นแสงยังเคลื่อนที่ได้เร็วมากตั้ง 300,000 กิโลเมตร/วินาที ถ้าวิ่งได้เร็วเหมือนแสงก็จะวิ่งรอบโลกได้ 7 รอบในเวลา 1 วินาที
แสงช่วยในการมองเห็นของเรายังไง? ที่เราเท่มองเห็นวัตถุรอบๆตัวได้ก็เพราะแสงส่องลงมาโดนวัตถุต่างๆและแสงยังสะท้อนจากวัตถุเข้ามาสู่ตาของเราเราจึงมองเห็นวัตุนั้นได้ ซึ่งากับว่าตาของเราเป็นจอสำหรับรับแสงที่สะท้อนเข้ามากับวัตถุนั่นเองหลอดไฟก็มีแสงสว่างกับตัวเองทำให้เรามองเห็นหลอดไฟได้โดยตรงเมื่อไฟฟ้าดับแล้วก็ติดทำให้เรามีอาการแสบตาก็เป็นเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงเร็วเกินไปตาของเรายังปรับไม่ทันจึงเกิดอาการพร่ามัวและแสบตา โลกเรามีดวงอาทิตย์คอยส่งแสงมายังโลกตลอดเวลา นอกจากแสงยังทำให้เรามองเห็นแล้ว มนุษย์เราก็นำแสงมาใช้ประโยชน์อีกมากมาย
คุณสมบัติของแสง ( Properties of Light) แสงที่พุ่งเข้ามาหาเราจะเดินทางเป็นลักษณะยังไง?   หากระดาษแข็งสีดำมีขนาดเท่ากันมาสัก 2 แผ่น แล้วเจาะรูตรงกลางของแผ่นให้ตรงกัน จากนั้นทดลอง ให้เปิดหลอดไฟทิ้งไว้ในห้องมืดจากนั้นนำกระดาษแข็งที่เตรียมไว้แผ่นแรกมาวางขั้นระหว่างหลอดไฟกับพนังห้อง แสงไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษออกมาได้ แต่ตรงรูที่เราเจาะไว้นั้นมีลำแสงเล็กๆพุ่งผ่านออกมา ต่อมาก็นำกระดาษอีกแผ่นมาวางซ้อนไว้ข้างหน้ากระดาษแผ่นแรก โดยให้รูที่เจาะอยู่ตรงกัน ก็ยังเห็นแสงพุ่งผ่านรูกระดาษแผ่นที่ 2 ที่เราเจาะไปยังพนังที่ตำแหน่งเดิม แสดงว่า แสงต้องพุ่งออกมาเป็นเส้นตรงแต่ถ้าเราลองเลื่อนขยับกระดาษออกไปให้รูที่เจาะไว้ไม่ตรงกันแสงก็จะไปหยุดอยู่บนกระดาษแผ่นที่ 2 ไม่เปลี่ยนทิศทางไปหารูที่เจาะเอาไว้แสดงว่าแสงจะเดินทางพุ่งออกมาเป็นเส้นตรงอย่างเดียวและไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง " แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงไปจนถึงวัตถุที่มากั้นทางเดินของแสงและแสงก็จะถูกวัตถุนั้นสะท้อนกลับมาเป็นเส้นตรงแบบเดิมเข้าสู่ตาของเรา" วัตถุต่างๆในโลกนี้มี่ทั้งหมด 3 ชนิด 
1. วัตถุโปร่งแสง (Translucent Objects)
2. วัตถุโปร่งใส (Transparent Objects)
3. วัตถุทึบแสง (Opaque Object)
วัตถุโปร่งแสง กับ วัตถุโปร่งใส มีคุณสมบัติคล้ายกันก็คือแสงจะทะลุผ่านไปได้ และแสงบางส่วนก็จะสะท้อนมาที่ตาของเราได้ด้วย วัตถุทึบแสง จะดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ จะสะท้อนแสส่วนที่เหลือเข้าสู่ตาเรา ซึ่งเป็นวัตุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลกของเรา เช่น หิน ไม้ เหล็ก แม้กระทั่งตัวเราเอง
แสงนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?  แสงมีประโยชน์เยอะแยะ อย่างการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงเราก็นำมาใช้ทำกล้องฉายภาพแบบต่างๆ กล้องรูเข็ม กล่องกระดาษ 1 ใบซึ่งด้านหนึ่งต้องเจาะรูเอาไว้ตรงกลางและอีกข้างหนึ่งแปะกระดาษเอาไว้เป็นจอและมีภาพต้นแบบ 1 ภาพ การส่องไฟจากภาพต้นแบบของเราโดยให้แสงผ่านเข้ารูเล็กๆ ที่เจาะไว้ที่ก้นกล่อง ภาพที่เราเตรียมไว้มาปรากฎบนแผ่นกระดาษที่เราแปะไว้ด้วยแต่ทำไมภาพถึงกลับหัว และลองขยับภาพต้นแบบภาพก็จะขยายและหดตัวลงได้ด้วยที่ภาพกลับหัวจากต้นแบบก็เพราะแสงเดินผ่านเป็นเส้นตรงเมื่อผ่านรูเล็กๆอย่างรูกระป๋องภาพที่ได้คือภาพกลับหัว ที่เราเห็นเป็นภาพกลับหัวแสงส่วนบนของภาพวิ่งเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านบนของกระดาษภาพที่เราเห็นจึงเป็นภาพกลับหัว ซึ่งถ้ามีรูที่ก้นกล่อง 2 รู ก็จะปรากฎภาพขึ้น 2 ภาพ ถ้าเจาะหลายรูก็จะมีภาพหลายๆภาพเช่นกัน
          ที่ดวงตาของเราก็มีรูเล็กๆเหมือนกัน คือ รูรับแสง เหมือนรูที่กล่องกระดาษ และภาพที่ผ่านรูรับแสงก็เป็นภาพหัวกลับเหมือนกัน แต่สมองของเรานั้นจะกลับภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติ
การสะท้อนของแสง ( Reflection of Light) ไฟฉายกับกระจกเงาลองวางกระจกไว้บนพื้นแล้วฉายไฟฉายลงตรงๆบนกระจกเงาแสงก็จะสะท้อนมาตรงๆเหมือนกัน องเปลี่ยนแนวของแสงที่ฉายไปยังกระจกเงาให้เฉียงๆนิดหน่อยแสงที่สะท้อนจากกระจกเงาก็เฉียงไปด้านตรงข้ามกับที่เราส่องลงไป คราวนี้ส่งแสงให้เฉียงมากๆเลยแสงเฉียงไปในทางตรงกันข้ามมากขึ้นด้วย แสงจะสะท้อนตรงกันข้ามกับทิศทางที่ฉายแสงลงมาเสมอก็เพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิวของวัตถุแล้วสะท้อนกลับนั้นเป็นมุมที่เท่ากันกับลำแสงที่ส่องลงมาเสมอ
กล้องคาไลโดสโคป (Kaleidoscope Camera) กระจก 3 บาน มาประกบกันให้เป็นกระบอกทรง 3 เหลี่ยม พอเราส่องกับวัตถุมีภาพสะท้อนมากมาย ก็ใช้หลักการสะท้อนของแสงและมุมประกบของกระจกเหมือนกับการทดลองเมื่อแสงตกกระทบบนกระบอกทรง 3 เหลี่ยมมันก็สะท้อนไปสะท้อนมาในนั้นจึงทำให้เกิดภาพมากมาย
หลักการสะท้อนของแสง (The principle of light reflection) ยังนำมาใช้ประโยชน์ในการมองหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูงๆได้ เรียกว่า กล้องส่องภาพเหนือระดับสายตาหรือกล้องเปอริสโคป 
หลักการของแสง (Principles of Light) คือ แสงของวัตถุจะผ่านเข้ามาทางช่องบนที่เราเจาะไว้มากระทบบนกระจกเงาแผ่นบนจะสะท้อนสู่กระจกเงาแผ่นล่างและสะท้อนเข้าสู่สายตาของเราทำให้เรามองเห็นของที่อยู่สูงกว่าเรามากๆ
หลักการหักเหของแสง (The Refrative) แสงจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่แสงเดินทางผ่านวัตถุแต่ละชนิดกัน เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าในอากาศเส้นทางเดินของแสงจึงหักเหไปด้วย จากนั้นเมื่อแสงพุ่งจากน้ำเข้าสู่อากาศแสงก็จะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นเส้นทางการเคลื่อนที่ของแสงจึงกลับมาเป็นเหมือนเดิม
ลักษณะการหักเหของแสง (Refractive characteristics) จะหักเหเข้าแนวที่ตั้งฉากกับผิวน้ำ เรียกว่า เส้นปกติ การหักเหของแสงทำให้เห็นภาพที่หลอกตาโดยแผ่นกระจกที่ถูกทำให้เป็นแผ่นโค้งนูนออกมา สามารถทำเป็นเลนส์และใช้ประโยชน์ในการขยายภาพ การหักเหของแสงนอกจากจะทำให้คนมองเห็นได้ชัดแล้วยังทำให้เรามองเห็น แสง (light) สีสวยๆ (color) ต่างๆเช่น หลังจากฝนตกจะเห็น รุ้งกินน้ำ(rainbow) ประกอบด้วย 7 สี สีม่วง (Purple) สีคราม (indigo) สีน้ำเงิน (blue) สีเขียว (green) สีเหลือง (yellow) สีแสด (orange) สีแดง (red) แม่สีทั้ง 7 พอรวมกันแล้วจะกลายเป็นสีขาว (White) แล้วจะมีละอองน้ำจากอากาศ และเมื่อแสงผ่านละอองน้ำเหล่านั้นก็จะเกิดการหักเหของแสง และแสงขาวๆจะแยกตัวออกเป็นสีทั้ง 7สี ซึ่งเราเรียกว่า แถบสเปกตรัม (spectrum) หรือ รุ้งกินน้ำ (rainbow) 
          เงา (shadows) เงาเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับแสง และเงาก็เกิดขึ้นได้เพราะแสง



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเด็กได้ และรู้เรื่องแสงมากยิ่งขึ้น การทดลองเกี่ยวกับแสงก็มีวิธีง่ายๆเราสามารถให้เด็กได้ทดลองได้

ประเมินตัวเอง
เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน และตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน และช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถาม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีความพร้อมในการสอน เตรียมเนื้อหาในการสอนมาเป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น