วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2





บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.
กิจกรรมวันนี้




อาจารย์ได้ใช้คำถามกระตุ้นความคิดของนักศึกษาว่า เมื่อเราพูดถึงเด็กปฐมวัย เรานึกถึงอะไร ??

- การเล่น
- การต่อบล็อก
- กิจกรรมการเล่นมุม
- ประสบการณ์
- ความอยากรู้อยากเห็น
- การเจริญเติบโต
- การลองผิดลองถูก ฯลฯ

เด็กปฐมวัย VS การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆจริงหรือไม่ ?
= ไม่ เพราะเด็กอยากรู้อยากเห็น ชอบทดลอง ชอบสังเกต และพัฒนาการความสามรถบอกได้ว่าเด็กทำอะไรเป็นบ้าง

ถ้าเด็กๆเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ?
= ไม่ เพราะ วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งรอบตัวเด็ก เช่น ให้เด็กเป่าลูกโป่ง หรือ ใช้กังหัน ฯลฯ ก็จะเกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อย่างไร ?
= ทดลองทำ

วิทยาศาสตร์
       คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตัวเอง การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง
    - คือ ความพยายามเช่นนี้จะติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
ทำให้เด็กมีการเรียนรู้ เพราะให้เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพราะให้เราคงอยู่ในสังคมได้
    - การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวของตนเองโดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ ช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กตัวเล็กๆ และส่งเสริมให้เด็กได้คิด เป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น

พัฒนาการแรกเกิด - 2ปี
      พัฒนาการทางสติปัญญา 2-6 ปี

ทบทวน บทบาท
- เปิดโอกาสทางการเรียนรู้
- ให้ความสนใจในการค้นพบแบบเด็กๆ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     จะนำเอาแนวการสอนของอาจารย์ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการสอนในอนาคต และเปิดโอกาสให้เด็กๆได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวโดยการลงมือปฎิบัติจริง และรับฟังความคิดหรือการแสดงความคิดเห็นจากเด็กๆ

ประเมินตนเอง
- แต่งกายถูกระเบียบ
- ตังใจฟังอาจารย์สอน

ความรู้เพิ่มเติม
- พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง
- วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
- วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ต่อๆไปของเด็ก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น