วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7





บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.


Classroom activities


          อาจารย์แจกกระดาษให้แต่ละแถวคนล่ะ 1 แผ่น ซึ่งแต่ล่ะแถวอาจารย์ให้ตัดกระดาษและพับกระดาษที่แตกต่างกันออกไปในการประดิษฐ์กังหันเล็ก 
          ประดิษฐ์กังหันเล็กของแต่ละแถวว่าแตกต่างกันอย่างไร และเพราะอะไร??

1.กังหันกระดาษลอยลม

Step


             



knowledge

บทความ (Article)

2.เชือกมหัสจรรย์
         
   Exemplar


          



Application

เป็นกิจกรรมที่ไม่ยากเกินไป เด็กสามารถทำเองได้ และสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆได้


Evaluation

ประเมินตัวเอง

- ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และสนุกกับการเรียนมากค่ะ

ประเมินเพื่อน

- เพื่อนตั้งใจเรียน ยิ้มแย้ม สนุกกับการเรียน

ประเมินอาจารย์

- อาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำไม่ซ้ำกันเลย หาวิธีการสอนใหม่ หาสื่อมากระตุ้นให้นักศึกษาสนใจ และยังทำให้การเรียนไม่น่าเบื่ออีกด้วย










วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.
        วันนี้อาจารย์เริ่มสอนโดยให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน แล้วแจกกระดาษที่เป็นรูปต่างๆให้กับแต่ล่ะคู่เพื่อให้นักศึกษาได้จัดแบ่งกัน
        อาจารย์ก็ได้แจกกระดาษมาอีก 1 แผ่น แล้วให้นักศึกษาพับครึ่งกระดาษ และวาดรูปอะไรก็ได้ให้สอดคล้องกัน เช่น ผีเสื้อ กับ ดอกไม้

 Activity 1

 1. กิจกรรมกังหันสัมพันธ์


                              

       จากกิจกรรมเราจะได้เรียนรู้ถึงการประยุกต์ของเหลือใช้มาประดิษฐ์สื่อในการเรียนการสอนแบบง่ายๆ หากเรานำกิจกรรมนี้ไปให้เด็กปฐมวัยได้ทำเด็กๆก็จะได้เรียนรู้โดยการลงมือทำจริงได้สร้างชิ้นงานของตัวเอง ซึ่งเด็กๆจะมีวิธีการเรียนรู้โดยผ่านการใช้สัมผัสทั้ง 5 ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ของเด็ก
อุปกรณ์ (equipment)
1. กรดาษสี
2. ไม้เสียบลูกชิ้น
3. สี
4. เทปใส
5. กรรไกร
วิธีทำ (procedure)
1.ตัดกระดาษให้เป็นรูปผืนผ้า(ยาวพอประมาณ)
2.ผับครึ่งของส่วนของกระดาษให้เท่ากัน
3.วาดรูปที่สอดคล้องกันใส่ด้านหน้าและด้านหลังของกระดาษ
4.ตกแต่งให้สวยงาม
5.นำไม้เสียบลูกชิ้นมาว่างระหว่างกลางของกระดาษ
6.นำแท็ปใสมาติดระหว่างตรงกลางไม้กับกระดาษและปลายของกระดาษ
ทักษะที่เด็กจะได้รับ (skills)
1.การสังเกต
2.การคาดคะเน
3.การจัดหมวดหมู่
4.การคิดและจิตนาการอย่างสร้างสรรค์

Activity 2

2. กิจกรรมการทดลองกล้อง
         จากกิจกรรมเราจะได้เรียนรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องสี และเรายังสามารถเรียนรู้การเดินทางของแสงเมื่อผ่านแผ่นพาสติกใสที่มีสีต่างกัน ซึ่งจากกิจกรรมนี้เราจะได้ทักษะ คือ การสังเกต  การเปรียบเทียบ 


สรุป Mind Map การบูรณาการไปใช้กับเด็กปฐมวัย


Activity 3
3. ผลงานของกลุ่มเพื่อนๆ

 




สรุปการทดลองจาก VDO







Application
เราสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ และสามารถนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนง่ายๆ

Evaluation

ประเมินตนเอง
วันนี้รู้สึกสนุกสนานในการเรียน และมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในการเรียนการสอนนี้

ประเมินเพื่อน
เพื่อนสนุกสนาน ในการเรียนเพราะได้ทำกิจกรรมได้ประดิษฐ์สื่อง่ายๆที่เราไม่เคยทำมาก่อน เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้หาวิธิการสอนใหม่ๆมาสอน และหาวิธีทำสื่อง่ายๆมาให้นักศึกษาทำ เพื่อที่จะไม่ทำให้การเรียนน่าเบื่อ



            

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5





บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.


กิจกรรมวันนี้

เพื่อนๆได้นำเสนอ"บทความ"วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (จำนวน2คน) มีหัวข้อดังนี้ค่ะ

1. สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ
2. วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

**อาจารย์ให้ไปดู VDO  เรื่อง "ความลับของแสง" แล้วให้สรุปลงBlogger
**อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องบล็อกว่าให้ใส่ภาษาอังกฤษในส่วนที่พอจะใส่ได้ เพื่อให้เราเกิดความคุ้นเคยกับภาษา


กลุ่มของเราทำ Mind Map เรื่อง ข้าว (Rice)


                             




สรุป Mind Map  เรื่อง ความลับของแสง





สรุป ความลับของแสง
          แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนคลื่นน้ำทะเลแต่เป็นคลื่นที่มีความยาว แต่จะมีความยาวคลื่นสั้นมาก นอกจากนั้นแสงยังเคลื่อนที่ได้เร็วมากตั้ง 300,000 กิโลเมตร/วินาที ถ้าวิ่งได้เร็วเหมือนแสงก็จะวิ่งรอบโลกได้ 7 รอบในเวลา 1 วินาที
แสงช่วยในการมองเห็นของเรายังไง? ที่เราเท่มองเห็นวัตถุรอบๆตัวได้ก็เพราะแสงส่องลงมาโดนวัตถุต่างๆและแสงยังสะท้อนจากวัตถุเข้ามาสู่ตาของเราเราจึงมองเห็นวัตุนั้นได้ ซึ่งากับว่าตาของเราเป็นจอสำหรับรับแสงที่สะท้อนเข้ามากับวัตถุนั่นเองหลอดไฟก็มีแสงสว่างกับตัวเองทำให้เรามองเห็นหลอดไฟได้โดยตรงเมื่อไฟฟ้าดับแล้วก็ติดทำให้เรามีอาการแสบตาก็เป็นเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงเร็วเกินไปตาของเรายังปรับไม่ทันจึงเกิดอาการพร่ามัวและแสบตา โลกเรามีดวงอาทิตย์คอยส่งแสงมายังโลกตลอดเวลา นอกจากแสงยังทำให้เรามองเห็นแล้ว มนุษย์เราก็นำแสงมาใช้ประโยชน์อีกมากมาย
คุณสมบัติของแสง ( Properties of Light) แสงที่พุ่งเข้ามาหาเราจะเดินทางเป็นลักษณะยังไง?   หากระดาษแข็งสีดำมีขนาดเท่ากันมาสัก 2 แผ่น แล้วเจาะรูตรงกลางของแผ่นให้ตรงกัน จากนั้นทดลอง ให้เปิดหลอดไฟทิ้งไว้ในห้องมืดจากนั้นนำกระดาษแข็งที่เตรียมไว้แผ่นแรกมาวางขั้นระหว่างหลอดไฟกับพนังห้อง แสงไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษออกมาได้ แต่ตรงรูที่เราเจาะไว้นั้นมีลำแสงเล็กๆพุ่งผ่านออกมา ต่อมาก็นำกระดาษอีกแผ่นมาวางซ้อนไว้ข้างหน้ากระดาษแผ่นแรก โดยให้รูที่เจาะอยู่ตรงกัน ก็ยังเห็นแสงพุ่งผ่านรูกระดาษแผ่นที่ 2 ที่เราเจาะไปยังพนังที่ตำแหน่งเดิม แสดงว่า แสงต้องพุ่งออกมาเป็นเส้นตรงแต่ถ้าเราลองเลื่อนขยับกระดาษออกไปให้รูที่เจาะไว้ไม่ตรงกันแสงก็จะไปหยุดอยู่บนกระดาษแผ่นที่ 2 ไม่เปลี่ยนทิศทางไปหารูที่เจาะเอาไว้แสดงว่าแสงจะเดินทางพุ่งออกมาเป็นเส้นตรงอย่างเดียวและไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง " แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงไปจนถึงวัตถุที่มากั้นทางเดินของแสงและแสงก็จะถูกวัตถุนั้นสะท้อนกลับมาเป็นเส้นตรงแบบเดิมเข้าสู่ตาของเรา" วัตถุต่างๆในโลกนี้มี่ทั้งหมด 3 ชนิด 
1. วัตถุโปร่งแสง (Translucent Objects)
2. วัตถุโปร่งใส (Transparent Objects)
3. วัตถุทึบแสง (Opaque Object)
วัตถุโปร่งแสง กับ วัตถุโปร่งใส มีคุณสมบัติคล้ายกันก็คือแสงจะทะลุผ่านไปได้ และแสงบางส่วนก็จะสะท้อนมาที่ตาของเราได้ด้วย วัตถุทึบแสง จะดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ จะสะท้อนแสส่วนที่เหลือเข้าสู่ตาเรา ซึ่งเป็นวัตุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลกของเรา เช่น หิน ไม้ เหล็ก แม้กระทั่งตัวเราเอง
แสงนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?  แสงมีประโยชน์เยอะแยะ อย่างการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงเราก็นำมาใช้ทำกล้องฉายภาพแบบต่างๆ กล้องรูเข็ม กล่องกระดาษ 1 ใบซึ่งด้านหนึ่งต้องเจาะรูเอาไว้ตรงกลางและอีกข้างหนึ่งแปะกระดาษเอาไว้เป็นจอและมีภาพต้นแบบ 1 ภาพ การส่องไฟจากภาพต้นแบบของเราโดยให้แสงผ่านเข้ารูเล็กๆ ที่เจาะไว้ที่ก้นกล่อง ภาพที่เราเตรียมไว้มาปรากฎบนแผ่นกระดาษที่เราแปะไว้ด้วยแต่ทำไมภาพถึงกลับหัว และลองขยับภาพต้นแบบภาพก็จะขยายและหดตัวลงได้ด้วยที่ภาพกลับหัวจากต้นแบบก็เพราะแสงเดินผ่านเป็นเส้นตรงเมื่อผ่านรูเล็กๆอย่างรูกระป๋องภาพที่ได้คือภาพกลับหัว ที่เราเห็นเป็นภาพกลับหัวแสงส่วนบนของภาพวิ่งเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านบนของกระดาษภาพที่เราเห็นจึงเป็นภาพกลับหัว ซึ่งถ้ามีรูที่ก้นกล่อง 2 รู ก็จะปรากฎภาพขึ้น 2 ภาพ ถ้าเจาะหลายรูก็จะมีภาพหลายๆภาพเช่นกัน
          ที่ดวงตาของเราก็มีรูเล็กๆเหมือนกัน คือ รูรับแสง เหมือนรูที่กล่องกระดาษ และภาพที่ผ่านรูรับแสงก็เป็นภาพหัวกลับเหมือนกัน แต่สมองของเรานั้นจะกลับภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติ
การสะท้อนของแสง ( Reflection of Light) ไฟฉายกับกระจกเงาลองวางกระจกไว้บนพื้นแล้วฉายไฟฉายลงตรงๆบนกระจกเงาแสงก็จะสะท้อนมาตรงๆเหมือนกัน องเปลี่ยนแนวของแสงที่ฉายไปยังกระจกเงาให้เฉียงๆนิดหน่อยแสงที่สะท้อนจากกระจกเงาก็เฉียงไปด้านตรงข้ามกับที่เราส่องลงไป คราวนี้ส่งแสงให้เฉียงมากๆเลยแสงเฉียงไปในทางตรงกันข้ามมากขึ้นด้วย แสงจะสะท้อนตรงกันข้ามกับทิศทางที่ฉายแสงลงมาเสมอก็เพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิวของวัตถุแล้วสะท้อนกลับนั้นเป็นมุมที่เท่ากันกับลำแสงที่ส่องลงมาเสมอ
กล้องคาไลโดสโคป (Kaleidoscope Camera) กระจก 3 บาน มาประกบกันให้เป็นกระบอกทรง 3 เหลี่ยม พอเราส่องกับวัตถุมีภาพสะท้อนมากมาย ก็ใช้หลักการสะท้อนของแสงและมุมประกบของกระจกเหมือนกับการทดลองเมื่อแสงตกกระทบบนกระบอกทรง 3 เหลี่ยมมันก็สะท้อนไปสะท้อนมาในนั้นจึงทำให้เกิดภาพมากมาย
หลักการสะท้อนของแสง (The principle of light reflection) ยังนำมาใช้ประโยชน์ในการมองหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูงๆได้ เรียกว่า กล้องส่องภาพเหนือระดับสายตาหรือกล้องเปอริสโคป 
หลักการของแสง (Principles of Light) คือ แสงของวัตถุจะผ่านเข้ามาทางช่องบนที่เราเจาะไว้มากระทบบนกระจกเงาแผ่นบนจะสะท้อนสู่กระจกเงาแผ่นล่างและสะท้อนเข้าสู่สายตาของเราทำให้เรามองเห็นของที่อยู่สูงกว่าเรามากๆ
หลักการหักเหของแสง (The Refrative) แสงจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่แสงเดินทางผ่านวัตถุแต่ละชนิดกัน เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าในอากาศเส้นทางเดินของแสงจึงหักเหไปด้วย จากนั้นเมื่อแสงพุ่งจากน้ำเข้าสู่อากาศแสงก็จะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นเส้นทางการเคลื่อนที่ของแสงจึงกลับมาเป็นเหมือนเดิม
ลักษณะการหักเหของแสง (Refractive characteristics) จะหักเหเข้าแนวที่ตั้งฉากกับผิวน้ำ เรียกว่า เส้นปกติ การหักเหของแสงทำให้เห็นภาพที่หลอกตาโดยแผ่นกระจกที่ถูกทำให้เป็นแผ่นโค้งนูนออกมา สามารถทำเป็นเลนส์และใช้ประโยชน์ในการขยายภาพ การหักเหของแสงนอกจากจะทำให้คนมองเห็นได้ชัดแล้วยังทำให้เรามองเห็น แสง (light) สีสวยๆ (color) ต่างๆเช่น หลังจากฝนตกจะเห็น รุ้งกินน้ำ(rainbow) ประกอบด้วย 7 สี สีม่วง (Purple) สีคราม (indigo) สีน้ำเงิน (blue) สีเขียว (green) สีเหลือง (yellow) สีแสด (orange) สีแดง (red) แม่สีทั้ง 7 พอรวมกันแล้วจะกลายเป็นสีขาว (White) แล้วจะมีละอองน้ำจากอากาศ และเมื่อแสงผ่านละอองน้ำเหล่านั้นก็จะเกิดการหักเหของแสง และแสงขาวๆจะแยกตัวออกเป็นสีทั้ง 7สี ซึ่งเราเรียกว่า แถบสเปกตรัม (spectrum) หรือ รุ้งกินน้ำ (rainbow) 
          เงา (shadows) เงาเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับแสง และเงาก็เกิดขึ้นได้เพราะแสง



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเด็กได้ และรู้เรื่องแสงมากยิ่งขึ้น การทดลองเกี่ยวกับแสงก็มีวิธีง่ายๆเราสามารถให้เด็กได้ทดลองได้

ประเมินตัวเอง
เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน และตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน และช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถาม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีความพร้อมในการสอน เตรียมเนื้อหาในการสอนมาเป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4





บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.



กิจกรรมวันนี้

เพื่อนๆได้นำเสนอ"บทความ"เกี่ยวกับ "วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" (จำนวน 5 คน) มีหัวข้อเรื่องดังนี้

4. เมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทย์-คณิตศาสตร์จากเสียงดนตรี บูรณาการวิทยาศาสตร์ เช่น เสียงดนตรีเกิดจากอะไร?
  - ความคิดสร้างสรรค์
  - ความรู้ทางวิทยศาสตร์ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างไร ?
   ๐ ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
   ๐ เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
 - การใช้คำถาม เพื่อ ให้เด็กใช้เหตุผลในการตอบ
 - ทักษะการสังเกต ให้เด็กได้เก็บข้อมูล


ความหมายของวิทยาศาสตร์
   วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยศาสตร์ที่ประกอบด้วย วิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป 

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยศาสตร์
1.การเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง
3. การปรับตัว
4. การพึ่งพาอาศัยกัน
5. ความสมดุล

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นงข้อสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ 
1. ความอยากรู้อยากเห็น
2. ความเพียรพยายาม
3. ความมีเหตุผล
4. ความซื่อสัตย์
5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
6. ความใจกว้าง

ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
 1. ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
2. พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทาศาสตร์
3. เสริมสร้างประสบการณ์
4. ฯลฯ
ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
 1. พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
2. พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
3. สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
4. ฯลฯ




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ก็จะนำเอาความรู้ที่อาจารย์ได้สอนไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน

ประเมินตัวเอง 

- ตั้งใจฟังอาจารย์ และได้ตอบคำถามที่อาจารย์ถามด้วยค่ะ (อาจารย์เรียกชื่อ และถามว่าเพื่อนนำเสนอบทความเรื่องอะไร ? )
- ตั้งใจจดบันทึกที่เรียนเพื่อที่จะมาบันทึกลง Blogger 

ประเมินเพื่อน
 
 เพื่อๆก็ตั้งใจฟัง อาจจะมีบางครั้งที่คุยกันแต่ก็ได้จดบันทึกที่อาจารย์สอนและที่เพื่อนนำเสนอบทความ

ประเมินอาจารย์
   
 ในขณะที่เพื่อนนำเสนอบทความ อาจารย์ก็ได้อธิบายไปด้วยและใช้คำถาม ถามเพื่อให้เราได้คิดภาพตามและสามารถเข้าใจได้ยิ่งขึ้น



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3





บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.



กิจกรรมวันนี้

เพื่อนๆได้นำเสนอ"บทความ"เกี่ยวกับ "วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" (จำนวน 5 คน) มีหัวข้อเรื่องดังนี้ค่ะ

1. วิทยาศาสตร์และการทดลอง (ได้ทักษะการสังเกต,การจำแนกประเภท,การสื่อความหมาย )
2. ภารกิจตามหาใบไม้ (เด็กจะใช้กระบวนการสืบเสาะ )
   - การตั้งคำถาม เพื่อให้เด็กได้ระดมความคิดเห็น ใช้ประสบการณ์เดิม
   - การตรวจสอบ ให้เด็กลงไปศึกษาในพื้นที่ เพื่อเด็กจะได้สัมผัสและเรียนรู้จากการทดลองจริง
   - การตอบคำถาม  เอาใบไม้ของเด็กๆที่ไปหามา มาพิมพ์ลงบนกระดาษ (หรือสิ่งที่คุณครูเตรียมไว้ให้ ) และดูว่าของแต่ล่ะคน        รูปร่างลักษณะเป็นยังไง เหมือนกับของเพื่อนหรือเปล่า แล้วให้เด็กๆออกมานำเสนองานของตัวเอง
4. การแยกเมล็ดพันธ์ุพืช ( ใช้การแยกประเภท คือ เกณฑ์ )
5. การทำภารกิจเป่าลูกโป่ง (เด็กจะใช้กระบวนการสืบเสาะ )

                                              กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน การสรุปเป็น Mind Map




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เราสามารถนำความรู้จากบทความที่เพื่อนๆของเราได้นำเสนอ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆและนำไปต่อยอดให้มีความเหมาะสมกับช่วงอายุของเด็กเเต่ละวัย และการทำกิจกรรมต่างๆเราควรให้เด็กๆได้ลงมือปฏิบัติจริง เพราะเด็กจะเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

ประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลา
- ตั้งใจฟังอาจารย์และเพื่อนๆเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน 
- เพื่อนที่นำเสนอบทความ ได้เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี 
- เพื่อนๆที่อยู่ในห้องเรียน ก็ตั้งใจฟังเพื่อนกับอาจารย์เป็นอย่างดี อาจจะมีบ้างที่คุยกัน แต่ถ้าอาจารย์ถามก็ช่วยกันตอบ

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มาสอนตรงเวลาทุกครั้ง และได้ใช้คำถามในการกระตุ้นเด็กๆนักศึกษาให้ คิด เชื่อมโยง ตอบ อยู่เสมอ สิ่งไหนไม่เข้าใจอาจารย์ก็จะแนะนำ และอธิบายให้ฟังจนเข้าใจ
ความรู้เพิ่มเติม




วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2





บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.
กิจกรรมวันนี้




อาจารย์ได้ใช้คำถามกระตุ้นความคิดของนักศึกษาว่า เมื่อเราพูดถึงเด็กปฐมวัย เรานึกถึงอะไร ??

- การเล่น
- การต่อบล็อก
- กิจกรรมการเล่นมุม
- ประสบการณ์
- ความอยากรู้อยากเห็น
- การเจริญเติบโต
- การลองผิดลองถูก ฯลฯ

เด็กปฐมวัย VS การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆจริงหรือไม่ ?
= ไม่ เพราะเด็กอยากรู้อยากเห็น ชอบทดลอง ชอบสังเกต และพัฒนาการความสามรถบอกได้ว่าเด็กทำอะไรเป็นบ้าง

ถ้าเด็กๆเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ?
= ไม่ เพราะ วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งรอบตัวเด็ก เช่น ให้เด็กเป่าลูกโป่ง หรือ ใช้กังหัน ฯลฯ ก็จะเกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อย่างไร ?
= ทดลองทำ

วิทยาศาสตร์
       คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตัวเอง การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง
    - คือ ความพยายามเช่นนี้จะติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
ทำให้เด็กมีการเรียนรู้ เพราะให้เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพราะให้เราคงอยู่ในสังคมได้
    - การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวของตนเองโดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ ช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กตัวเล็กๆ และส่งเสริมให้เด็กได้คิด เป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น

พัฒนาการแรกเกิด - 2ปี
      พัฒนาการทางสติปัญญา 2-6 ปี

ทบทวน บทบาท
- เปิดโอกาสทางการเรียนรู้
- ให้ความสนใจในการค้นพบแบบเด็กๆ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     จะนำเอาแนวการสอนของอาจารย์ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการสอนในอนาคต และเปิดโอกาสให้เด็กๆได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวโดยการลงมือปฎิบัติจริง และรับฟังความคิดหรือการแสดงความคิดเห็นจากเด็กๆ

ประเมินตนเอง
- แต่งกายถูกระเบียบ
- ตังใจฟังอาจารย์สอน

ความรู้เพิ่มเติม
- พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง
- วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
- วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ต่อๆไปของเด็ก


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1





บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2557
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น.
กิจกรรมวันนี้



                  อาจารย์ได้แจกเอกสารแนวการสอน (Course Syllabus) และได้อธิบายในเอกสารการสอนใน
รายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และได้บอกข้อตกลงในชั้นเรียน มีดังนี้
-เข้าเรียนตรงเวลา
-แต่งกายถูกระเบียบ
-พูดจาไพเราะ

ผลลัพธ์การเรียนรู้

1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (คุณธรรมเกิดจากความยับยั้งช่างใจ)
- มีความซื่อสัตย์ สุจริต และเสียสละ
- มีวินัย ตรงต่อเวลา
- เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ของสาขาวิชา คณะฯ และมหาวิทยาลัย

2. ด้านความรู้
- อธิบายหลักการ ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้
- อธิบายสาระการเรียนรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
- วิเคราะห์และเลือก สื่อ อุปกรณ์ ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อม (มุมประสบการณ์) ได้อย่างเหมาะสม

3.ด้านทักษะทางปัญญา
- คิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
- ประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างสร้างสรรค์
- สรุปองค์ความรู้จากปัญหาและความต้องการนำไปพัฒนาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

4. ทักษะและความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
- ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ
- แสดงบทบาทผู้นำ และการทำงานเป็นทีม
- รับผิดชอบในผลงานและกลุ่ม
- แสดงความคิกเห็น

5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี่สารสนเทศ
- มีทักษะในการใช้เครื่องมือเพื่อศึกษาค้นคว้า
- สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้านการ ฟัง พูด อ่าน เขียน
- สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. ด้านการจัดการเรียนรู้
- วางแผน ออกแบบ ปฏิัติการสอน
- เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- นำสิ่งที่อาจารย์สอนไปปรับใช้ในการเรียนเพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น

ประเมินตนเอง
- วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย Course Syllabus

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์

ความรู้เพิ่มเติม
มคอ.มาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้มีการบันทึก การเรียน การสอน ลงใน Blogger และการสร้างบล็อกมีดังนี้
- ชื่อและคำอธิบาย
- รูปและข้อมูลผู้เรียน
- ปฏิทินและนาฬิกา
- เชื่อมโยงบล็อกจากอาจารย์ผู้สอน หน่วยงานสนับสนุน แนวการสอน งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ บทความ สื่อ (เพลง เกม นิทานแบบฝึกหัด ของเล่น)